วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

ประวัติศาสดาของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)

ประวัติศาสดาของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)



     ศาสนาพราหมณ์  เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  ช่วงแรกเรียกว่า ศาสนาพราหมณ์  ต่อมาได้พัฒนามาเป็น ศาสนาฮินดู และเป็นศาสนาที่มีคนไทยจำนวนหนึ่งนับถือ
     ศาสนาพราหมณ์ถือกำเนิดในประเทศอินเดีย  ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนานี้  ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา นับถือพระเจ้าหลายพระองค์  เทพเจ้าที่สำคัญ  ได้แก่
          -  พระพรหม  เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
          -  พระวิษณุหรือพระนารายณ์  เป็นผู้คุ้มครองโลก
          -  พระศิวะ หรือพระอิศวร   เป็นผู้ทำลายโลกและสร้างโลกขึ้นใหม่

     เทพเจ้าทั้ง 3 องค์นี้  จะมีหน้าที่สัมพันธ์กัน
     ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เน้นการประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาและสรรเสริญเทพเจ้า  ผู้ที่อยู่ในฐานะสูงสุดและเป็นผู้นำทางความเชื่อของศาสนา  ได้แก่  นักบวชพราหมณ์  ซึ่งเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและเป็นตัวแทนในการติดต่อกับเทพเจ้า  วรรณะพราหมณ์จึงเป็นวรรณะหรือชนชั้นสูงสุดของชาวอินเดีย
     ศาสนาพราหมณ์ได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับจนกระทั่งได้วิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดู  และหยั่งรากลึกลงในวัฒนธรรมประเพณีรวมทั้งความเป็นอยู่ของชาวอินเดียสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ 👳


💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥



ที่มา : เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์


     
     ศาสนาคริสต์  เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดทั่วโลก  และเป็นศาสนาที่มีคนไทยจำนวนหนึ่งนับถือ
     ศาสนาคริสต์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอิสราเอล ศาสดาของศาสนาคริสต์  คือ พระเยซู ซึ่งเป็นชาวยิวประสูติในปี ค.ศ. 1 
ที่หมู่บ้านเบธเลเฮม  แคว้นยูดาย  มีมารดาชื่อ  มาเรีย  เป็นชาวยิวและบิดาชื่อ โจเซฟ  เป็นช่างไม้ชาวยิวาและชาวคริสต์  เชื่อกันว่านางมาเรียตั้งครรภ์โดยอานุภาพของพระเจ้า
     นวัยเยาว์พระเยซูเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดและมีความสนใจในเรื่องของศาสนา  พออายุย่างเข้า 30 ปี  พระองค์ได้รับศีลล้างบาปตามลัทธิของนักบุญโยฮัน  หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปบำเพ็ญภาวนาเจริญสมาธิ  และนมัสการพระเจ้า  เมื่อกลับมาพระองค์ได้ออกสั่งสอนประชาชนให้ทุกคนมีความรักกัน  รู้จักให้อภัยกัน  คำสอนของพระองค์ถือว่าเป็นการประกาศศาสนาคริสต์
     เมื่อประกาศศาสนาได้ 3 ปี  นักบวชชาวยิวไม่พอใจและเห็นว่าการประกาศศาสนาของพระเยซูอันตรายต่อพวกตน จึงหาทางกำจัด  โดยกล่าวหาพระองค์เป็นกบฏ  จนในที่สุดพระองค์ถูกตัดสินประหารชีวิต  โดยการตรึงไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์เมื่ออายุ 33 ปี  แต่คำสอนของพระองค์ก็ได้รับการเผยแผ่จากบรรดาสาวก
จนปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาคริสต์กระจายอยู่ทั่วโลก


พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน



💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥


ที่มา : เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม
     
    


 ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่มีคนไทยนับถือเป็นอันดับที่สองรองจากพระพุทธศาสนา  ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดชายแดน  ทางภาคใต้มีกระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ
     ศาสนาอิสลามถือกำเนิดที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย  ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับ เกิดที่เมืองเมกกะในประเทศซาอุดีอาระเบีย  เมื่อประมาณ 1,400  กว่าปีมาแล้ว  ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 610  หรือ พ.ศ. 1153
     ท่านมุฮัมมัดเป็นผู้ที่ใฝ่ใจในทางศาสนา  ท่านชอบหลบไปหาความสงบและบำเพ็ญสมาธิ  ในช่วงที่ท่านมุฮัมมัดมีชีวิตอยู่นั้น  สภาพสังคมของอาหรับอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม  ท่านมุฮัมมัดได้พยายามแก้ไขปัญหาสังคม  จนกระทั้งวันหนึ่งขณะที่ท่านหลบไปหาความสงบในถ้ำบนภูเขาฮิรอฮ์  ได้มีเทวทูตนำโองการของพระเจ้ามาประทานแก่ท่าน  ท่านจึงเริ่มประกาศศาสนาและนำคำสอนที่ได้รับจากพระเจ้ามาเผยแผ่
     ท่านมุฮัมมัดได้เผยแผ่ศาสนาเป็นเวลา 23 ปี  จึงสิ้นพระชนม์เมื่ออายุ 63 ปี  ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากมาย  โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥



ที่มา : เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

ประวัติศาสดาของพระพุทธศาสนา


ประวัติศาสดาของพระพุทธศาสนา


     พระพุทธศาสนา  ถือได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติไทย  เพราะชาวไทยประมาณร้อยละ 90 นับถือพระพุทธศาสนา  ดังนั้นเราจึงควรศึกษาพระพุทธประวัติ  เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับพระพทธศาสนาอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
     พระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นในชมพูทวีป  (ปัจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย)  โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา  พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ  เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  พระราชาผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์  กับพระนางสิริมหามายา  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ 16 พรรษา  จึงได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา (พิมพา) 


     พระเจ้าสุทโธทนะไม่ต้องการให้เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชตามคำทำนาย  พระองค์จึงทรงพยายามที่จะให้เจ้าชายเพลิดเพลินอยู่ในความสุขทางโลก  ได้แก่  ความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง  และสัมผัส  ซึ่งเป็นความพอใจของคนทั่วไป  แต่สิ่งนั้นกลับยิ่งทำให้เจ้าขายทรงเบื่อหน่าย  การดำเนินชีวิตแบบนี้มากยิ่งขึ้น  เพราะทรงเห็นว่าเป็นชีวิตที่มีความสุข

     เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวช  หลังจากออกผนวชแล้ว  พระสิทธัตถะได้แสวงหาแนวทางการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์จากอาจารย์ในสำนักต่าง ๆ แต่ก็ไม่เป็นผล  พระองค์จึงทรงแสวงหาวิถีทางแห่งการดับทุกข์  ด้วยวิธีการทรมานตนเองหรือการบำเพ็ญทุกรกิริยา  ตัวอย่างเช่น
          -  เอาฟันกดกันให้แน่น  และใช้ลิ้นกดเพดาน
          -  กลั้นลมหายใจเข้าออก
          -  อดอาหารจนร่างกายซูบผอม
     เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาไประยะหนึ่ง  ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่หนทางที่จะทำให้พ้นทุกข์จึงเลิกเสีย  และกลับมาเสวยอาหารตามปกติ
     หลังจากนั้นพระสิทธัตถะทรงเริ่มบำเพ็ญเพียร  โดยการนั่งสมาธิ  ทำให้จิตสงบ  ขณะนั้นพญามาร (หมายถึงกิเลส)  ได้มาหลอกล่อพระองค์ให้ทรงหวนกลับไปสู่ความสุขสบายทางโลก  แต่พระสิทธัตถะทรงตั้งจิตมั่นไม่หวั่นไหวต่อความคิดอันชั่วร้ายทั้งหลายที่เข้ามารบกวนจิตของพระองค์  ในที่สุดพระองค์ตรัสรู้  เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการค้บพบหนทางพ้นทุกข์  ซึ่งได้แก่ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ  หรือ  อริยสัจ 4 


     เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  พระองค์ทรงได้พิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะแสดงธรรมโปรด  พระองค์ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์เป็นผู้มีกิเลสอันเบาบาง  จึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
     พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา  ชื่อว่า  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 8  หลังจากฟังพระธรรมเทศนาแล้ว  ทำให้โกณทัญญะซึ่งเป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์บรรลุธรรมเบื้องต้น  และได้ทูลขออุปสมบท  นับได้ว่าพระโกณฑัญญะบรรลุธรรมเบื้องต้น  และได้ทูลขออุปสมบท  นับได้ว่าพระโกณฑัญญะเป็นสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา  และต่อมาปัญจวัคคีย์อีก 4 ท่าน  ได้แก่  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  และอัสสชิ  ได้บรรลุธรรมตามลำดับ  ปัญจวัคคีย์นับเป็นพระอรหันต์สาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้าที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     พระพุทธเจ้าได้เสด็จสั่งสอนประชาชนเป็นเวลานานถึง 45 ปี  ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมีผู้นับถือมากมาย  มาบัดนี้พระองค์ทรงชราภาพมากแล้ว  เห็นสมควรที่จะละสังขารจึงทรงปลงสังขารว่า  พระศาสดาจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า  วันที่พระองค์ทรงปลงสังขารตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 3
     พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ในวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 6  ณ สาลวโนทยาน  เมืองกุสินารา  รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา





💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥


ที่มา : 
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

ความรู้เกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เกี่ยวกับศาสนา




     ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม
     👉ความหมายของศาสนา
   "ศาสนา"  มาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสกฤตว่า  "ศาสน์"  ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า  "สาสน์"  แปลว่า  คำสั่งสอน  แยกเป็น คำสั่ง  อันหมายถึง  ข้อห้ามทำความชั่ว  ที่เรียกว่า ศีล หรือ วินัย และ คำสอน อันหมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี ที่เรียกว่า ธรรม  เมื่อรวมคำสั่งและคำสอนเข้าด้วยกันจึงหมายถึง ศิลธรรม คือ มีทั้งข้อห้ามทำความชั่ว และคำแนะนำให้ทำความดี
     👉องค์ประกอบของศาสนา
1)  ศาสดา  หมายถึง  ผู้ก่อตั้งและประกาศศาสนาหรือความเชื่อของลัทธินั้น
2)  คัมภีร์หรือหลักธรรมทางศาสนา  คือ  คำสอนซึ่งเป็นหลักความเชื่อเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้นับถือได้ปฏิบัติตาม
3)  ศาสนวัตถุ  เป็นสัญลักษณ์หรือวัตถุทางศาสนา 
4)  ผู้สืบทอดศาสนา  ทุกศาสนาจะมีผู้สืบทอดศาสนาในการสั่งสอนศาสนิกชน
5)  พิธีกรรม  แต่ละศาสนาย่อมมีพิธีกรรม  ซึ่งเมื่อศาสนิกชนได้ปฏิบัติตาม   ย่อมจะได้รับความสุข
6)  ศาสนสถาน  แต่ละศาสนาจะมีศาสนสถานเพื่อการประกอบพิธีกรรมหรือการเผยแผ่คำสอนทางศาสนา
     👉ประเภทของศาสนา
1)  เทวนิยม   
เป็นศาสนาที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและควบคุมดูแลสิ่งต่างๆ  ศาสนาประเภทนี้มีทั้งเชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียวและหลายองค์  ศาสนาที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว  เช่น  ศาสนาคริสต์  ศาสนาอิสลาม  เป็นต้น  ศาสนาที่เชื่อในพระเป็นเจ้าหลายองค์  เช่น  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  เป็นต้น
2)  อเทวนิยม   เป็นศาสนาที่ไม่เชื่อว่าพระเป็นเจ้าสร้างโลกและให้คุณให้โทษ  แต่เชื่อว่าสิ่งต่างๆ  เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเองตามกระบวนการทางธรรมชาติ  ศาสนาประเภทนี้  เช่น  พระพุทธศาสนา  เป็นต้น

     👉ความสำคัญของศาสนา
     ศาสนามีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ในลักษณะต่างๆ ต่อไปนี้
1)  ศาสนาเป็นที่พึ่งและเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์
2)  ศาสนาช่วยยกระดับจิตใจ  ทำให้เป็นคนดี  เป็นผู้ควรแก่การเคารพนับถือ
3)  ศาสนาสร้างระเบียบความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้ปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน
4)  ศาสนาช่วยสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของความเป็นมนุษย์
5)  ศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรมของประเทศ
6)  ศาสนาเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าให้แก่สังคม
7)  ศาสนาเป็นมรดกล้ำค่าของมนุษย์ เป็นความหวัง และวิถีทางแห่งความอยู่รอดของมนุษย์



💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥


ที่มา : สุริวัตร  จันทร์โสภา.  พระพุทธศาสนา  ม.1.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ  :  อักษรเจริญทัศน์.








วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

สมัยตอนเป็นนักเรียน...เราชอบเรียนอะไร 👍💬
       👉 เชื่อว่าในสมัยตอนเป็นนักเรียน มัธยมต้น มัธยมปลาย ปริญญาตรี ใครหลายๆ คนจะต้องมีวิชาในดวงใจ เรียกว่าเป็นวิชาสุด love💗 เลยก็ว่าได้ เรามักจะเรียงลำดับตามความชื่นชอบเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกันกับ "Miss Joom" 👸ที่ในสมัยตอนเป็นนักเรียนมักจะชอบเรียนในวิชาที่ตัวเองคิดว่า อันไหนจะง่ายที่สุด ชอบวิชาคอมพิวเตอร์ อังกฤษ สังคม ส่วนคณิตและไทยนี่มาลำดับท้ายสุดเลย 555 คำถาม???แล้วทำไมถึงสอนวิชาสังคม คำตอบคือ หากเรามีความชอบในเรื่องใด วิชาใด ก็มักที่จะสนใจ ใฝ่รู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษมากกว่าเรื่องอื่น ๆ และก็มักที่จะทำในสิ่งที่รักและชอบได้ดีกว่าอีกด้วย...
         แล้วใคร...ชอบเรียนวิชาไหนกันบ้างเอ่ยยยย...???

🔅🔅🔅🔅🔅🔆🔅🔅🔅

Say Hi....

Welcome to website for Education...📌

เว็ปไซด์นี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เราจะร่วมกันเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ดี ๆ ผ่านเว็ปไซด์ออกสู่สังคม ✈


สายสุณี  เขียวรัมย์ (จุ๋ม)
โดย MissJoom 💙 
นางสาวสายสุณี  เขียวรัมย์
การศึกษา📋         
: ปริญญาตรี รัฐประศาสนาศาสตร์ 
  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สถานที่ทำงาน🏠  
: โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ อ.เมือง           จ.บุรีรัมย์
: สอนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา     และวัฒนธรรม,ประวัติศาสตร์,หน้าที่   พลเมือง